บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด เป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชนตามโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ หรือ ไอพีพี ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประกอบด้วย 2 หน่วยผลิต มีขนาด 2×700 เมกะวัตต์ โดยใช้ถ่านหินคุณภาพดีประเภทบิทูมินัสเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (Clean Coal Technology) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ตั้งอยู่ในพื้นที่ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึก บริษัทฯได้ลงนามในสัญญาเช่าพื้นที่จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ประมาณ 600 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2543 รวมระยะเวลาเช่า 30 ปี ทั้งนี้โรงไฟฟ้าฯ แห่งนี้ได้รับใบอนุญาตต่างๆ ในการก่อสร้างและดำเนินการ รวมทั้งได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน กฎเกณฑ์และข้อบังคับเช่นเดียวกับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง
กฟผ. ส่งเอกสารเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูลโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2537 กฟผ. ประกาศผู้ชนะการประมูลโครงการ IPP ระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2539 ซึ่งบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ คือบริษัทหนึ่งซึ่งชนะการประมูล ณ เวลานั้น หลังจากวันที่ 20 ธันวาคม 2539 กฟผ. และบีแอลซีพี ได้เจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และสามารถ ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งในสัญญา บริษัทฯ มีกำหนดจ่าย ไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของ กฟผ. ในวันที่ 1 ตุลาคม 2545 สำหรับหน่วยที่หนึ่ง และวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 สำหรับหน่วยที่สอง ต่อมาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทย ทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศลดลงมาก กฟผ. จึงได้ทำหนังสือ ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ขอเลื่อนกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของ กฟผ. โดยบีแอลซีพี ออกไปอีก 4 ปี คือขอให้บริษัทฯ จ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของกฟผ. ในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 สำหรับหน่วยที่หนึ่ง และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 สำหรับหน่วยที่สอง บริษัทฯ ได้ตอบรับคำร้องขอของ กฟผ. โดยให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการเจรจาในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มเติม (PPA Amendment) เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในสัญญาเดิม และได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2542 หลังจากที่บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ฉบับแรก บริษัทฯ ได้ดำเนินการศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโครงการท่าเรือ ขนถ่ายถ่านหิน เพื่อให้เป็นไปตาม PPA โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ซึ่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและโครงการท่าเรือขนถ่ายถ่านหิน นั้นคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2544 และวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2545 ตามลำดับ
โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ถูกออกแบบมาให้ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินคุณภาพดีประเภทบิทูมินัสเป็นเชื้อเพลิงซึ่งให้ค่าความร้อนต่อหน่วยสูงและค่ากำมะถันเจือปนต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย
โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีจะทำการขนส่งถ่านหินบิทูมินัสซึ่งนำเข้าโดยทางเรือเท่านั้น และมีการขนถ่ายผ่านท่าเรือซึ่งติดกับพื้นที่โรงไฟฟ้าโดยขนส่งผ่านสายพานลำเลียงที่มีแผ่นกำบังลมปิดโดยรอบ โดยจะมีการสเปรย์น้ำเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหิน ป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ ส่วนน้ำที่ใช้ในการสเปรย์จะถูกส่งไปบำบัดยังบ่อตกตะกอนและนำกลับมาใช้ในการสเปรย์ครั้งต่อไป
เพื่อลดภาระการลงทุนของภาครัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2537 ที่สนับสนุนให้เอกชนลงทุนผลิตกระแสไฟฟ้า ตามโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independence Power Producer หรือ IPP) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ เนื่องจากการที่รัฐบาลจะกู้เงินมาลงทุนในโครงการที่มีขนาดใหญ่ อาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของประเทศ ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไม่สามารถกู้เงินเพื่อมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าซึ่งเป็นการลงทุนที่มีมูลค่าสูงมาก เนื่องจากติดเรื่องเพดานเงินกู้ การอนุมัติให้บริษัทฯ ที่มีประสบการณ์และทักษะเข้ามาก่อสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศนั้น ถือเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศ
ประโยชน์ต่อประเทศ ช่วยลดภาระรัฐบาลในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านปริมาณสำรองไฟฟ้าในประเทศ ประโยชน์ต่อชุมชน การจ้างแรงงานจำนวนมากในอนาคต ในช่วงก่อสร้าง สูงสุด ประมาณ 5,000 คน และในช่วงเปิดดำเนินการ 280 คน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงประชาชนในท้องถิ่นส่วนอื่นๆ ที่จะได้รับประโยชน์ต่อเนื่องหลังจากที่โรงไฟฟ้าเปิดดำเนินการแล้ว สร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่นในรูปภาษีต่างๆ เฉพาะภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน และภาษีป้ายรวมแล้ว ปีละประมาณ 20 ล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้ และภาษีการค้า สร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่นประมาณปีละ 30-40 ล้านบาทจากภาษีมูลค่าเพิ่มจากการที่บริษัทฯมาจดทะเบียนบริษัทฯที่จังหวัดระยอง บริษัทฯ มีนโยบายในการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตในลักษณะต่างๆ เช่น การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การสนับสนุนด้านการศึกษาและทักษะในด้านต่างๆ ของเยาวชน การสนับสนุนกิจกรรมด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ทั้งนี้โรงไฟฟ้าบีแอลซีพียังมีแนวทางปฏิบัติตามแนวคิด CSR ของ The World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) ซึ่งหมายถืง “การปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาอย่างต่อเนื่องของบริษัทในการดำเนินธุรกิจโดยใช้พื้นฐานของจริยธรรมเข้ามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปพร้อมๆกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานและคุณภาพชุมชนท้องถิ่น รวมถึงสภาพสังคมโดยรวม
บีแอลซีพีได้รับเลือกให้เข้ามาก่อสร้างโรงไฟฟ้าเนื่องจากสามารถเสนอราคาต้นทุนในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ต่ำและทำให้ชนะการประมูล โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีมีส่วนช่วยลดค่าไฟฟ้าของประเทศ เนื่องจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วย ของโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินถูกกว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ สาเหตุเนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติอ้างอิงกับราคาน้ำมัน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตามราคาตลาดโลก ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วน ในการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ากว่าร้อยละ 70 ในขณะที่มีการใช้ถ่านหิน ในการผลิตไฟฟ้าเพียงร้อยละ 19 ราคาของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้ามีผลต่อราคาค่าไฟฟ้า เนื่องจากค่าเชื้อเพลิงผันแปร หรือค่า FT นั้น คิดเฉลี่ยจากเชื้อเพลิงทุกประเภทที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของทั้งประเทศ ดังนั้น หากเราสามารถเพิ่มสัดส่วนของการใช้เชื้อเพลิงที่มีราคาถูกกว่าในการผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นก็จะทำให้ราคาค่า FT ลดลง และค่าไฟฟ้าก็จะถูกลงด้วย
อากาศ ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas De-Sulfurization หรือ FGD) ส่วนก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน บริษัทฯ ได้ออกแบบเตาเผาประสิทธิภาพสูง (Low NOX Burner) เพื่อป้องกันการเกิดก๊าซดังกล่าว น้ำ ไม่มีการปล่อยน้ำเสียออกจากโรงไฟฟ้า มีเพียงน้ำทะเลที่สูบเข้ามาใช้หล่อเย็นเครื่องจักร ซึ่งจะต้อง ทำการปรับค่าอุณหภูมิและความเป็นกรด–ด่างก่อนจะปล่อยลงสู่ทะเล โดยจะต้องทำให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับเมื่อตอนที่สูบเข้ามา เถ้าถ่านหิน มีการนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ (Recycle) ในอุตสาหกรรมหรือกิจกรรมอื่นๆ ได้แก่ เถ้าลอยนำไปขาย ให้อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ ส่วนเถ้าหนักสามารถจะนำไปใช้ในการผลิตบล๊อกคอนกรีต หรืออาจนำไปใช้ถมที่หรือปรับสภาพพื้นถนนได้
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การเลือกใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ไปจนถึงการมีมาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้เชื้อเพลิง คือ ถ่านหินบิทูมินัส ซึ่งเป็นถ่านหินคุณภาพดี มีปริมาณซัลเฟอร์ในถ่านหินต่ำ คือ มีปริมาณสูงสุดไม่เกินร้อยละ 0.70 และปริมาณเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 0.45 ต่อปี (ปริมาณซัลเฟอร์ในถ่านลิกไนต์ที่แม่เมาะประมาณร้อยละ 3-5) การเลือกใช้เครื่องจักรในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการดูแลสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์กำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เลือกใช้เตาเผาที่มีการควบคุมการเกิดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ติดตั้งเครื่องดักฝุ่นระบบไฟฟ้าสถิตย์ อากาศที่ผ่านการบำบัดแล้วจะถูกปล่อยออกไปทางปล่อง ซึ่งมีความสูงถึง 200 เมตร เพื่อลดปัญหาเรื่องมลภาวะทางอากาศ นอกจากนี้ ยังมีโรงบำบัดน้ำเสีย มีบ่อปรับค่าอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำหล่อเย็นก่อนปล่อยลงสู่ทะเล เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องมลภาวะทางน้ำ จัดระบบการตรวจสอบมลภาวะ ทั้งทางน้ำและทางอากาศอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเครื่องมืออัตโนมัติและตรวจสอบซ้ำโดยที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ความร่วมมือกับหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เข้ามาตรวจสอบได้
น้ำทะเลจะถูกใช้เพื่อแปรสภาพออกไซด์ของซัลเฟอร์เป็นอนุมูลซัลเฟต ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ในน้ำทะเลตามปกติ จึงไม่มีโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำทะเลจากกระบวนการกำจัดซัลเฟอร์ไดออกไซด์
การถมทะเลเป็นการดำเนินการของการนิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าเป็นเพียงผู้เช่าพื้นที่เท่านั้น
การขนถ่ายจะใช้เครนตักจากเรือใส่ในระบบสายพานที่ปิดคลุมอย่างมิดชิด โดยจะมีการสเปรย์น้ำ ที่กรวยก่อนลงสู่ระบบสายพานตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ฝุ่นถ่านหินฟุ้งกระจาย หลังจากนั้นจะลำเลียงเข้าสู่สายพานระบบปิดต่อไป
First of all water released by the power plant is treated to ensure that it meets all legal requirements. Secondly, the water is used as a cooling medium and to remove sulfur, which naturally exists in the ocean.
ในอเมริกาและยุโรปมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินมากอยู่แล้ว ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความสมดุลย์ในการใช้เชื้อเพลิงจึงต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทอื่นบ้าง เช่น โรงไฟฟ้าพลังก๊าซ โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าพลังชีวมวล และโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนอื่นๆ สำหรับในทวีปเอเชีย ได้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ๆ ในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย จีน และแม้กระทั่งมาเลเซีย ซึ่งมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติภายในประเทศมากกว่าไทยถึง 10 เท่า ก็ยังมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยมีเหตุผลเพื่อการสร้างสมดุลย์ด้านการใช้เชื้อเพลิงเช่นกัน
กองถ่านหินมีการบดอัดแน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ก๊าซออกซิเจนเข้าไปทำให้เกิดการสันดาปได้ นอกจากนั้นจะมีการสเปรย์น้ำที่ปรับความแรงได้ตามความแรงของลม
บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด เริ่มทำการปรับพื้นที่ในเดือนกรกฎาคม 2545 และเริ่มทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ในเดือนกรกฎาคม 2546 ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างทั้งสิ้น 43 เดือน โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ได้เริ่มผลิตกระแสไฟฟ้า สำหรับหน่วยผลิตแรก (700 เมกะวัตต์) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 และหน่วยผลิตที่ 2 (700 เมกะวัตต์) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งสอดคล้องกับกำหนดเวลาตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan; PDP) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และจัดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับ กฟผ. ตามโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producer; IPP) ตามมติคณะรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2537 เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจการไฟฟ้า โดยบริษัทฯได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. ตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 รวมระยะเวลา 25 ปี
มีพื้นที่ทั้งหมด 600 ไร่ โดยมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 1,400 เมกะวัตต์ (Maximum Operating Capacity)
ส่วนประกอบของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ประกอบด้วย ตัวโรงไฟฟ้า ท่าเรือขนถ่ายถ่านหิน และลานกองถ่านหิน
โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีตระหนักถึงความสำคัญของชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้า จึงมีนโยบายพัฒนาชุมชนต่างๆในเขตมาบตาพุดผ่านโครงการต่างๆที่ได้รับความสนใจและการร่วมมือจากชุมชนต่างๆ อาทิ การประชุมคณะกรรมการไตรภาคี (Tripartite Committee Meeting) จัดขึ้นเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหิน สร้างการมีส่วนร่วม และเพื่อแจ้งผลการดำเนินงาน กิจกรรม ข้อมูลข่าวสารของโรงไฟฟ้าฯ ให้คณะกรรมการฯ และผู้เข้าร่วมประชุมทราบอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ปัญหา หรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดจากกิจกรรมของโรงไฟฟ้าฯ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข และหาทางป้องกันร่วมกัน โครงการทุนการศึกษา “น้อง ๆ เรียนดีกับบีแอลซีพี” (BLCP Scholarship) โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเอง ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวช่วงที่เปิดเทอมและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน ด้านการศึกษา โครงการรักษ์ป่าชายเลนกับ บีแอลซีพี (BLCP Mangrove Forest Planting) เป็นโครงการระยะยาว 5 ปี (2551 – 2555) ณ สมุทรเจดีย์กลางน้ำ จ. ระยอง จัดขึ้นเพื่อพัฒนาผืนป่าชายเลนผืนสุดท้ายของชาวระยอง ซึ่งมีจำนวนประมาณ 200 ไร่ และเพื่อเป็นแหล่งธรรมชาติศึกษาแก่อนุชนรุ่นหลังและผู้ที่สนใจทั่วไป รวมทั้งเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงาน และชาวระยอง ด้วยการสรรสร้างโลกสวยด้วยมือเรา โครงการนำร่องการจัดการน้ำเสียระดับครัวเรือน (Grey Water Pilot Project) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบระบบการจัดการและเทคโนโลยีการจัดการน้ำเสียระดับครัวเรือน เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและพัฒนาศักยภาพขององค์กรภาคประชาชนในการจัดการน้ำเสียของชุมชน โครงการอิฐบล็อกผสมเถ้าถ่านหิน (Fly Ash Cement Blocks) เป็นโครงการที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของเถ้าถ่านหิน(เถ้าลอย) ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในการทำอิฐบล๊อก (บล๊อกปูพื้นถนน) และยังเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ผักปลอดสารพิษ เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง (Hydroponics Vegetables Farm Project) เป็นโครงการที่ ส่งเสริมให้ผู้บริโภคผักมีสุขภาพแข็งแรง รวมทั้งสร้างเสริมอาชีพและรายได้ให้แก่ผู้ขอรับโครงการ เช่นนายทหารชั้นผู้น้อย และเป็นอาหารกลางวันสำหรับเด็กในโรงเรียน โครงการมัคคุเทศน์น้อยบีแอลซีพี (BLCP Junior Guide) บริษัทฯ ได้ริเริ่มโครงการนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และจัดอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี เพื่อส่งเสริม พัฒนาความรู้ ความสามารถ และฝึกฝนให้เยาวชนมีทักษะการสื่อสารที่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกในทางที่ถูกที่ควร สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ รวมถึงช่วยพัฒนาให้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ในอนาคต นอกจากนี้บริษัทฯ ได้จัดตั้ง “อาคารพลังงานเคียงสะเก็ด” (Kiang Saket Energy Center; KSEC) เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านพลังงานแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ชุมชน และบุคคลที่สนใจทั่วไป ภายในอาคารจัดให้มีห้องนิทรรศการต่างๆ ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเน้นการสร้างเสริมความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพลังงานประเภทต่างๆ
ถ่านหินบิทูมินัส เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพดีกว่าลิกไนต์มาก เพราะให้ค่าความร้อนสูงกว่าลิกไนต์ประมาณ 2-2.5 เท่า ขณะที่มีปริมาณซัลเฟอร์ต่ำกว่ามาก สำหรับบีแอลซีพีจะใช้ถ่านหินบิทูมินัสที่มีปริมาณซัลเฟอร์ไม่เกินร้อยละ 0.7 และเฉลี่ยทั้งปีไม่เกินร้อยละ 0.45 ซึ่งต่ำกว่าลิกไนต์ ส่วนถ่านหินลิกไนต์มีปริมาณซัลเฟอร์ประมาณร้อยละ 3
ถ่านหินบิทูมินัส เป็นถ่านหินคุณภาพดี ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย
น้ำที่ใช้ในโรงไฟฟ้าฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ น้ำจืด (Fresh Water ) คือ น้ำที่โรงไฟฟ้าฯ นำไปใช้ในกระบวนการผลิต ท่าเรือ ลานกองถ่านหิน และภายในอาคารสำนักงาน โดยมีการจัดการน้ำเสีย ดังนี้ * จัดให้มีโรงบำบัดน้ำเสีย (Waste Water Treatment Plant) * น้ำฝนจากท่าเรือและลานกองถ่านหิน จะถูกบำบัดนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) น้ำทะเล (Sea Water) ถูกสูบเข้ามาเพื่อใช้หล่อเย็นและใช้ในระบบบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยติดตั้งตะแกรง 2 ชั้น (Traveling Screen and Bar Screen) เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งมีชีวิต (สัตว์ทะเล) เล็ดลอดเข้ามาเข้ามาในระบบหล่อเย็น รวมทั้งได้มีการควบคุมความเร็วของน้ำทะเลที่สูบเข้ามาใช้ในการหล่อเย็น โดยตะแกรงดังกล่าวจะช่วยให้สิ่งมีชีวิตที่อาจเล็ดลอดเข้ามา สามารถหนีออกจากคลองส่งน้ำหล่อเย็น ได้โดยง่าย นอกจากนี้ บริเวณจุดปล่อยน้ำหล่อเย็นได้ดำเนินการติดตั้งบ่อเติมอากาศ เพื่อปรับค่าอุณหภูมิ และค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ก่อนที่จะระบายออกสู่ทะเล พร้อมทั้งได้มีการตรวจสอบระบบ และจัดทำแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์รายปี รวมถึงได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
เป็นไปได้ว่าในอนาคต บีแอลซีพี อาจพิจารณาเปลี่ยนแปลงหรือผสมผสานเชื้อเพลิงอื่นทดแทนถ่านหินบิทูมินัส ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น 1.ลดต้นทุน หากเชื้อเพลิงทางเลือกมีราคาถูกลง หรือมีความผันผวนของราคาน้อยกว่าถ่านหิน อาจทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลดลงได้ 2.ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองต่อความกังวลเรื่องภาวะโลกร้อนและมลภาวะทางอากาศ บีแอลซีพี อาจต้องมองหาเชื้อเพลิงที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้น้อยกว่า 3.ความมั่นคงทางพลังงาน การกระจายความเสี่ยงโดยใช้เชื้อเพลิงหลายประเภท อาจช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนหรือความผันผวนของราคาเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่ง 4.นโยบายและกฎระเบียบ หากมีนโยบายหรือกฎหมายใหม่ที่เข้มงวดขึ้นเกี่ยวกับการใช้ถ่านหิน บีแอลซีพี อาจต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้อง เชื้อเพลิงทางเลือกที่เป็นไปได้ อาทิ ก๊าซธรรมชาติ พลังงานชีวมวล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเชื้อเพลิงต้องพิจารณาหลายปัจจัย เช่น ความพร้อมของเชื้อเพลิง: แหล่งที่มา ความมั่นคงของอุปทาน และโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ต้นทุนและความคุ้มค่า: ต้นทุนการลงทุนในการปรับเปลี่ยนโรงไฟฟ้า ต้นทุนเชื้อเพลิง และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม: การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้านของเชื้อเพลิงทางเลือก ความเป็นไปได้ทางเทคนิค: ความสามารถในการปรับเปลี่ยนโรงไฟฟ้าให้ใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่น และประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า
(1) โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีใช้เทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจากทั่วโลก (Proven Technology) และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยได้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ ได้แก่ ติดตั้งเตาเผาไหม้ประสิทธิภาพสูง เพื่อลดการเกิดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (Low NOX burner) ติดตั้งเครื่องดักจับฝุ่นระบบไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic Precipitator; ESP) เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองที่ปล่อยออกทางปล่อง ติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulphurization; FGD)เพื่อลดปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปล่อยออกทางปล่อง ติดตั้งปล่องระบาย (Chimney) ที่มีความสูง 200 เมตร เพื่อช่วยเจือจางความเข้มข้น ของมลสารทางอากาศที่ปล่อยออกทางปล่อง (2) โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีมีการกำหนดเกณฑ์ควบคุมปริมาณการปล่อยมลสารทางอากาศ ให้มีค่าต่ำกว่าที่กฎหมายทั่วไปกำหนด ดังนี้ ฝุ่นละออง กำหนดเกณฑ์ที่ 43 mg/m3 ซึ่งดีกว่าเกณฑ์ตามกฎหมายทั่วไปที่ 120 mg/m3 ถึงร้อยละ 64 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ กำหนดเกณฑ์ที่ 262 ppm ซึ่งดีกว่าเกณฑ์ตามกฎหมายทั่วไป ที่ 320 ppm ถึงร้อยละ 18 ออกไซด์ของไนโตรเจน กำหนดเกณฑ์ที่ 241 ppm ซึ่งดีกว่าเกณฑ์ตามกฎหมายทั่วไป ที่ 350 ppm ถึงร้อยละ 31
เชื้อเพลิง จะมีการตรวจสอบคุณภาพถ่านหินที่นำเข้าทุกเที่ยวเรือให้มีคุณภาพตามที่กำหนดจากหน่วยงานกลางที่เชื่อถือได้ อากาศ จะมีการติดตามตรวจวัดปริมาณฝุ่นละออง 3 บริเวณ คือ ด้านเหนือ และด้านใต้ของลานกองถ่านหิน และที่ชุมชนตากวน ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring หรือ CEMs) ที่บริเวณกลางปล่อง และมีการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ระบายออกจากปล่อง โดยที่ปรึกษา ด้านสิ่งแวดล้อมทุก 6 เดือน ติดตั้งสถานีตรวจสอบคุณภาพอากาศแบบต่อเนื่อง (Air Quality Monitoring Station หรือ AQMS) จำนวน 4 แห่ง รอบๆ โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี และมีการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ที่บริเวณสถานี AQMS โดยที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมทุก 6 เดือน
ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว โดยที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมทุก 6 เดือน ติดตั้งเครื่องมือติดตามตรวจสอบค่าอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าคลอรีนคงเหลือ และค่า CODแบบอัตโนมัติ ณ จุดปล่อยน้ำออกสู่ทะเล ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำทะเลในอ่าวมาบตาพุดจำนวน 13 จุด รอบๆ จุดปล่อยน้ำ โดยที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมทุก 3 เดือน
เป็นนโยบายหลักของบีแอลซีพี ที่ไม่เพียงแต่จะควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตามข้อกำหนดมาตรฐานที่ทางหน่วยงานราชการกำหนดไว้ ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อชีวอนามัยของประชาชนเท่านั้น แต่บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะทำให้ได้ดีกว่ามาตรฐานที่ทางราชการกำหนด หากบริษัทฯ ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว หน่วยงานที่กำกับดูแลสามารถดำเนินการทางกฎหมายกับบริษัทฯ ได้ทันที โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี มีการควบคุมอย่างเข้มงวดต่อปริมาณซัลเฟอร์ในถ่านหินเพื่อให้อยู่ในระดับต่ำไม่เกิน 0.70 % ต่อเที่ยวเรือ และโดยเฉลี่ยต้องไม่เกิน 0.45% ต่อปี รวมทั้งต้องมีการบำบัดและควบคุมมลสารที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อให้ดีกว่าค่ามาตรฐานตามกฎหมายทั่วไป ดังนี้ ฝุ่นละออง (TSP) ที่กำหนดไว้ใน EIA คือ 43 mg/m3 จากเกณฑ์มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ 120 mg/m3 บริษัทฯ ทำได้ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 64% ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ตามที่กำหนดไว้ใน EIA คือ 262 ppm จากเกณฑ์มาตรฐาน ของกรมควบคุมมลพิษ 320 ppm บริษัทฯ ทำได้ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 18% ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOX) ตามที่กำหนดไว้ใน EIA คือ 241 ppm จากเกณฑ์มาตรฐาน ของกรมควบคุมมลพิษ 350 ppm บริษัทฯ ทำได้ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 31%
ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีออกแบบให้สามารถรองรับน้ำเสียได้ 2,131 ลบ.ม./วัน ซึ่งดีกว่ามาตรการที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA (1,704 ลบ.ม./วัน) อยู่ร้อยละ 25.06
เนื่องจากต้องสร้างเป็นท่าเรือน้ำลึกเพื่อการขนถ่ายถ่านหินทางเรือ ซึ่งแต่เดิมบริเวณดังกล่าว มีความลึกเพียง 12 เมตรเท่านั้น แต่ท่าเรือต้องการน้ำลึกประมาณ 17 เมตร จึงต้องดูดทรายขึ้นมา และทรายดังกล่าวได้นำไปใช้ปรับสภาพพื้นที่ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า
ก่อนที่เรือจะออกจากท่าเรือที่ประเทศออสเตรเลียและอินโดนีเซีย จะมีการตรวจสอบคุณภาพ ถ่านหินก่อนส่งมายังประเทศไทย โดยหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับจากทางโรงไฟฟ้าและบริษัท ที่จัดจำหน่ายถ่านหิน และจะมีการตรวจสอบอีกครั้งที่ท่าเทียบเรือขนถ่ายถ่านหินของบริษัทฯ ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
น้ำหล่อเย็นใช้น้ำทะเลสูบเข้ามาในระบบเพื่อพาความร้อนของเครื่องจักรออกไปทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ได้รับการบำบัดโดยปล่อยออกไปที่บ่อพักและปั๊มอากาศเข้าไปเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการพาความร้อนออกไป หลังจากนั้นจะปล่อยออกสู่ท่อระบายน้ำยาว 500-600 ม. เพื่อปรับอุณหภูมิ จุดที่ปล่อยน้ำหล่อเย็นออกมาจะมีการตรวจวัดโดยระบบเครื่องมือโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดว่าอุณหภูมิสูงสุดที่ปล่อยออกต้องไม่เกิน40°C อุณหภูมิรอบจุดปล่อยในรัศมี 500 ม. จะมีอุณหภูมิแตกต่างจากน้ำทะเลได้ไม่เกิน 3°C มีการตรวจวัดอุณหภูมิรอบๆ จุดปล่อยประมาณ 13 จุดรอบ โครงการตลอดอายุโครงการ 25 ปี
บริษัทฯ ได้ว่าจ้างบริษัทที่มีความชำนาญด้านการขุดลอกร่องน้ำจากประเทศเบลเยี่ยมโดยจะเริ่มขุดลอกร่องน้ำประมาณต้นปี 2546 การขุดลอกดังกล่าวจะใช้ เรือขุด Cutter Suction ด้วยหัวขุดทังสเตนคาร์ไบด์เจาะตะกุยตะกอนทราย ขณะเดียวกันก็สูบกลับขึ้นมา ซึ่งวิธีดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการสูบตะกอนทราย ได้ถึง 90% ลำเลียงไปตามท่อ ลอยไปลงที่พื้นที่เช่าที่ต้องถมเพิ่ม นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการกำกับแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการท่าเรือขนถ่ายถ่านหิน ซึ่งตั้งขึ้นตามเงื่อนไขที่ระบุใน EIA
ใช้น้ำทะเลวันละประมาณ 5.38 ล้านคิวบิกเมตรต่อวัน แพลงตอนที่สูบเข้าไปมีการพิสูจน์โดยนักชีววิทยาว่าตัวแพลงตอนเป็นประเภทใด และมีการพิสูจน์อีกเช่นเดียวกันว่าแพลงตอนส่วนนี้สามารถ Generate ได้ทุกวัน แต่อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าบริษัทฯ มีสิทธิทำลายแพลงตอน แม้ทางบริษัทฯ ป้องกันไม่ได้แต่ส่ามารถสร้างทดแทนได้ บริษัทฯ ได้ปรึกษากับชุมชนโดยเฉพาะชุมชนประมง วิธีที่บริษัททำได้ก็คือไปสร้างใหม่ขึ้นมา เช่น การปล่อยปูในกระชังเพื่อให้เป็นระบบโซ่อาหารช่วงแรกของทะเลกลับไปสู่ทะเลรายละเอียดอยู่ในรายงานมวลชนสัมพันธ์พร้อมภาพประกอบ ส่วนประเด็นเรื่องปลาขนาดใหญ่ เนื่องจากมีการออกแบบโรงไฟฟ้าเพื่อป้องกันและลดผลกระทบในการที่จะให้ความเร็วของน้ำที่ไหลเข้า 0.3 เมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่ค่อนข้างต่ำมาก เพราะฉะนั้นปลาใหญ่หรือปลาขนาดย่อมๆ จะไม่สามารถหลุดเข้าไปได้ นอกจากนี้มีตะแกรง 2 ชั้น ตะแกรงขนาดหยาบซึ่งป้องกันปลาขนาดใหญ่ตั้งแต่ก่อนเข้าไปในโรงไฟฟ้า คือจะกันปลาใหญ่ก่อน หลังจากนั้นจะมีตะแกรงละเอียดสำหรับป้องกันปลาตัวเล็ก แต่อย่างไรก็ตามแพลงตอนมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถป้องกันได้ บริเวณที่สูบน้ำเข้าเป็นบริเวณท่าเรือ ซึ่งด้านกฎของความปลอดภัยไม่ควรจะมีเรือหาปลาเข้าไปในบริเวณนั้น
จะมีระบบสเปรย์น้ำและปูด้วยวัสดุกันซึมรองใต้ลานกองถ่านหินเพื่อไม่ให้น้ำซึมลงดิน โครงการได้ทำระบบระบายน้ำเพื่อนำน้ำไปตกตะกอนที่บ่อพักน้ำจะถูกจะถูกบำบัด และนำกลับมาใช้ไม่มีการปล่อยลงสู่ทะเล ลานกองถ่านหินมีทั้งสิ้นจำนวน 3 กอง มีตัวสเปรย์น้ำ 17 ตัว ทำงานอัตโนมัติตามแรงลมที่วัดได้ กองถ่านสำรองจะบดอัดเป็นรูปทรงปิระมิดหัวตัดและสเปรย์สารประเภทโพลิเมอร์ลักษณะคล้ายกากน้ำตาล เพื่อยึดเกาะไม่ให้ฟุ้งกระจายในกรณีที่เกิดพายุรุนแรง
ปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าถึงกว่าร้อยละ 70 ซึ่งเป็นปริมาณที่เสี่ยงต่อความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ ในกรณีที่เกิดการ ขาดแคลนก๊าซธรรมชาติหรือราคาน้ำมันสูงขึ้น จะเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ ของประเทศและราคาค่าไฟฟ้าก็จะพุ่งสูงตามไปด้วย
ภาวะโลกร้อนเกิดจากการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันของทุกๆ คน ซึ่งพลังงานส่วนใหญ่จะถูกใช้ในการผลิตสินค้าและการขนส่ง การผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งที่ใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้แต่การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำ ก็ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน เนื่องจากการสร้างเขื่อนจะต้องมีการตัดต้นไม้ ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโลกเราลดลงอย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงก๊าซต่าง ๆ ที่มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อน จะเห็นว่าการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้า จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก (Global Warming Potential หรือ GWP) เพียงแค่ 1 เท่า เมื่อเทียบกับการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะมีมีเทนเป็นองค์ประกอบหลัก เมื่อเกิดการรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมจะมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกถึง 21 เท่า หากจะเปรียบเทียบในระดับประเทศต่างๆทั่วโลก ผลกระทบที่จะก่อให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกที่เกิดจากอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศไทยนับว่ามีน้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาทางอุตสาหกรรม อาทิ สหรัฐอเมริกา ซึ่งน่าจะจับตามองเป็นอย่างมากในเรื่องของการให้ความร่วมมือเพื่อการแก้ไขอย่างรีบด่วน
โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยที่สุด โดยใช้ถ่านหิน บิทูมินัสซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพสูง และการออกแบบเตาเผาที่ก่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ดังนั้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจึงมีปริมาณน้อยมาก และโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี จะพยายามรักษาประสิทธิภาพนี้ไปตลอดช่วงอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้า โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีได้จัดให้มีระบบการจัดการพลังงาน และจัดทำโครงการอนุรักษ์พลังงาน อย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยลดปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การเลือกใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ไปจนถึงการมีมาตรการในการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยการเลือกใช้เชื้อเพลิง คือ ถ่านหินบิทูมินัส ซึ่งเป็นถ่านหินคุณภาพดี มีปริมาณซัลเฟอร์ในถ่านหินต่ำ คือ มีปริมาณสูงสุดไม่เกินร้อยละ 0.70 และปริมาณเฉลี่ยต่อปีไม่เกินร้อยละ 0.45 หากจะเปรียบเทียบในระดับประเทศต่างๆทั่วโลก ผลกระทบที่จะก่อให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกที่เกิดจากอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศไทยนับว่ามีน้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาทางอุตสาหกรรม อาทิ สหรัฐอเมริกา ซึ่งน่าจะจับตามองเป็นอย่างมากในเรื่องของการให้ความร่วมมือเพื่อการแก้ไขอย่างรีบด่วน การเลือกใช้เครื่องจักรในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมอุปกรณ์การดูแลสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ โดยติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เลือกใช้เตาเผาที่มีการควบคุมการเกิดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนให้มีปริมาณน้อย ติดตั้งเครื่อง ดักฝุ่นระบบไฟฟ้าสถิตย์ อากาศที่บำบัดแล้วจะถูกปล่อยออกทางปล่องซึ่งมีความสูงถึง 200 เมตร เพื่อลดปัญหาเรื่องมลภาวะทางอากาศ นอกจากนี้ ยังมีโรงบำบัดน้ำเสีย มีบ่อปรับค่าอุณหภูมิ และความเป็นกรด-ด่างของน้ำหล่อเย็นก่อนปล่อยลงสู่ทะเล เพื่อลดปัญหาเรื่องมลภาวะทางน้ำ จัดระบบการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งทางน้ำและทางอากาศอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเครื่องมืออัตโนมัติและตรวจสอบซ้ำโดยที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ความร่วมมือ กับหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เข้ามาตรวจสอบได้ บริษัทฯยังได้ทำการพัฒนาป่าชายเลนร่วมกับเทศบาลนครระยองและประชาชนในพื้นที่รอบป่าชายเลนในพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ ซึ่งสามารถปลูกป่าไดประมาณ 100,000 ต้น หรือสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 25,000 ต่อปีถึงแม้ว่าจะไม่สามารถลดการระบายก๊าซดังกล่าวได้ไม่ทั้งหมดแต่ก็เป็นการแสดงเจตนารมณ์อย่างแน่วแน่ของบริษัทฯที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่จะลดภาวะโลกร้อน
โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีดำเนินนโยบายโดยยึดหลักบรรษัทภิบาล (Corporate Governance) กล่าวคือ ใช้หลักคุณธรรม นิติธรรม ความคุ้มค่า ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ความรับผิดชอบต่อสังคม การมีส่วนร่วมกับชุมชน และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อสร้างความไว้วางใจ สร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ชุมชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างไม่ย่อท้อ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อบริษัทฯ จะได้มีความรู้และเข้าใจความต้องการของชุมชนอย่างถูกต้องทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทั้งยังช่วยทำให้บริษัทฯ สามารถประมวลผล ปรับปรุงการดำเนินงานด้านประชาสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสารและงานชุมชนสัมพันธ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของชาวชุมชนได้อย่างทันท่วงที มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าการออกไปพบปะพูดคุยและการอธิบายข้อคับข้องใจต่างๆ ของชุมชน น่าจะช่วยคลายข้อกังวลใจหรือช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างถูกต้องทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
กลุ่มเพื่อนชุมชน เป็นการทำงานร่วมกัน โดยการส่งผู้แทนมาร่วมในคณะทำงาน ซึ่งมี 3 คณะหลัก คือ คณะทำงานปฏิบัติการโรงงานสีเขียว (Green Operation) มุ่งยกระดับมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมในมาบตาพุดให้ดีกว่า EIA หรือมาตรฐานกำหนด มีแผนงานเร่งด่วนในการลดสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) การควบคุมกลิ่น การควบคุมและลดการปล่อย Flare ให้ดีกว่าที่มาตรฐานกำหนด เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสะอาดที่ยั่งยืน คณะทำงานดูแลเอาใจใส่ชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี (Beyond CSR) มุ่งพัฒนาสุขภาพและการศึกษาของคนในชุมชน โดยดูแลตรวจสุขภาพ และร่วมมือกับภาครัฐในการตรวจสุขภาพให้กับชุมชนเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ สนับสนุนบุคลากรด้านการพยาบาลโดยให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาพยาบาล 200 ทุน รวมทั้ง เพิ่มศักยภาพและโอกาสให้กับเยาวชนในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา พัฒนาคุณภาพโรงเรียนให้ทัดเทียมกับโรงเรียนในระดับแนวหน้าของประเทศ และจัดทุนการศึกษาแบบต่อเนื่องจนถึงระดับอุดมศึกษา คณะทำงานสื่อสารเสริมสร้างความเข้าใจ (Communication) มุ่งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนอย่างเปิดเผยและโปร่งใสเกี่ยวกับการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย โดยจะจัดตั้งศูนย์เพื่อนชุมชน เพื่อเป็นศูนย์รับข้อร้องเรียนให้เกิดการประสานงานและแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ทั้งเป็นศูนย์ให้ความรู้แก่คนในชุมชน นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการสื่อสารและซักซ้อมเหตุฉุกเฉินร่วมกับชุมชนให้ครบทุกชุมชน ตลอดจนการจัดเวทีชุมชนและรับฟังเสียงชุมชน
ถ่านหินประเภทบิทูมินัส 1 กก. ให้ความร้อนเท่ากับลิกไนต์ประมาณ 2 กก. ตามหลักการนี้ถือว่าต้นทุนลิกไลต์จะแพงกว่าบิทูมินัส โดยถ่านหินลิกไนต์ในปัจจุบันพบที่จังหวัดลำปางอยู่ภาคเหนือ ในขณะที่โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ที่ จ.ระยอง หากต้องขนส่งถ่านหินลงมาเป็นไปได้ 2 ทาง คือทางรถยนต์ กับทางรถไฟ ซึ่งค่าขนส่งเฉลี่ยประมาณ 2 บาท/กม./ตัน ฉะนั้นค่าขนส่งจากจังหวัดลำปางมาที่มาบตาพุดสูงกว่าเชื้อเพลิงที่นำเข้าโดยเรือ จึงเป็นไปไม่ได้ที่บริษัทฯ จะขนส่งลิกไนต์จากแม่เมาะมาใช้ที่โรงไฟฟ้า จ. ระยอง ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยการติดตั้งอุปกรณ์ติดตั้งติดตามตรวจสอบ บริเวณปล่องระบายอากาศ ซึ่งเป็นการตรวจสอบตลอด 24 ชั่วโมง และจะออนไลน์ไปที่ กนอ. และกรมควบคุมมลพิษ เพื่อยืนยันว่าบริษัทฯ ดำเนินการผลิตเหมือนกันตลอดเวลา